เส้นทางแห่งมิตรภาพ สู่ความสำเร็จ ยั่งยืน มั่นคง
ด้วยอุดมการณ์ทางธุรกิจที่ยึดมั่นในคุณภาพคุณธรรมที่มีต่อเพื่อนร่วมเส้นทาง และผู้บริโภคก่อเกิดมิตรภาพที่ยิ่งใหญ่อันเปี่ยมด้วย ความซื่อสัตย์จริงใจ ที่มีแก่กันและกันบริษัท จิ้วฮวด จำกัด และ บริษัท ตราแม่ครัว จำกัด ได้เดินทางมาอย่างต่อเนื่องยาวนานนับตั้งแต่ปี 2525 ที่บริษัทก่อตั้งขึ้นเพื่อดำเนินกิจการในด้านการเป็น ผู้จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์จนได้รับรางวัลโรงงานดีเด่น ประจำปี 2541 เป็นเครื่องยืนยันถึง การเจริญเติบโตด้วยคุณภาพที่ดีตลอดมา
เชื่อว่า “ภาพหญิงวัยกลางคนใส่เสื้อสีแดง
คลุมทับด้วยผ้ากันเปื้อนสีขาวยืนปรุงอาหาร”
เป็นที่คุ้นตาของแม่บ้านไทย มาไม่น้อยกว่า 30 ปีแล้ว เพราะนี่
คือโลโก้สินค้า ที่สร้างการจดจำของ ซอสหอยนางรมตราแม่ครัว
และเครื่องปรุงรสต่างๆในกลุ่มตราแม่ครัวฉลากทอง
แต่หากจะให้ย้อนถึงต้นกำเนิดของรสชาติที่สร้างความกลมกล่อม ให้หลากเมนูคู่ครัวไทยจะมีใครเล่าได้ดีเท่า “คุณเศรษฐี กาญจนวิสิษฐผล” ประธานกรรมการบริษัท ตราแม่ครัว จำกัด เจ้าของสินค้าตราแม่ครัว และแม่ครัวฉลากทองผู้บริหารรุ่นที่สอง ที่รับหน้าที่สืบทอดงานจากรุ่นคุณพ่อคุณแม่ (คุณพ่อสถิตย์ – คุณแม่ง้วย กาญจนวิสิษฐผล) ที่ให้เกียรติมา เล่าความเป็นมาตลอดจนแนวคิดการดำเนินธุรกิจที่ส่งต่อมาจากรุ่นสู่รุ่น อย่างไม่มีปิดบัง
ค้าขายชายเล ต้นกำเนิดตราแม่ครัว
คุณเศรษฐีเล่าถึงครอบครัวด้วยท่าทีเป็นกันเองว่า “ผมเติบโตที่จังหวัดชลบุรีบ้านที่มีลูก 8 คน ทุกคนต้องช่วยกันทำงาน แม่เปิดร้านขาย อาหารทะเลแห้งและมีหอยนางรมสด ซึ่งเป็นงานที่ทำมาตั้งแต่รุ่นคุณปู่ ผมกับพี่น้องผู้ชายมีหน้าที่ออกเรือเพื่อที่จะไปทุบหอยนางรมมาให้กลุ่ม ผู้หญิงแกะขายสดๆ หน้าร้าน ซึ่งบางครั้งเราก็ขายของที่ได้มาไม่หมด จึงต้องคิดค้นวิธีถนอมอาหารซึ่งส่วนใหญ่จะเอาไปดอง แต่เมื่อของมันเยอะ คุณพ่อก็คิดว่าจะดัดแปลงหอยนางรมให้กลายเป็นเครื่องปรุงเหมือนกับซีอิ๊ว จึงลองนำไปกวน จากนั้นก็พัฒนาสูตรและกรรมวิธีมาเรื่อยๆ จน กลายเป็นซอสหอยนางรมและใช้ชื่อตราแม่ครัวจนมาถึงปัจจุบัน ซึ่งถือว่าเป็นเจ้าแรกของประเทศไทย”
จากที่เคยคิดแค่เพียงต้องการถนอมอาหาร กลับกลายเป็นเกิดสินค้าใหม่ พื้นที่แกะหอยนางรมสดในบ้านถูกแบ่งไว้สำหรับขายซอสเพิ่ม เติม มีโรงงานขนาดย่อมอยู่หลังหนึ่งชื่อ “จิ้วฮวด” ซึ่งหมายถึง เจริญทันทีทันใด
“เนื่องจากซอสหอยนางรมเป็นสินค้าใหม่ ช่วงแรกๆ จึงขายดีมาก กลายเป็นของที่ต้องมีติดบ้านเช่นเดียวกันน้ำปลา เราเริ่มต้นจากขาย ให้ร้านอาหารละแวกบ้านก่อน เพราะแถบชลบุรีมีร้านอาหารใหญ่ๆ อยู่มากจึงทำให้คนรู้จักเราอย่างรวดเร็ว ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่ก็เป็นลูกค้าเดิม ของคุณแม่ และโชคดีชั้นที่สองก็คือ หม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ ท่านซื้อไปทดลองรับประทาน และนำไปเขียนลงในหนังสือ ฟ้าเมืองไทย ในขณะนั้น พร้อมให้เครื่องหมายเชลล์ชวนชิม ซอสของเราจึงเป็นที่รู้จักแพร่หลายในวงกว้าง”
เมื่อถามถึงที่มาของเครื่องหมายการค้าที่แสนจะคุ้นเคย ก็ได้คำตอบว่า “เราตั้งโรงงานในปี 2519 เป็นแหล่งผลิต แล้วขายผ่านตัวแทน จำหน่ายดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีโลโก้ยี่ห้อของตัวเอง เราพยายามหาสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์เพื่อให้คนจำได้ สรุปว่าคุณแม่ที่ขายของอยู่หน้าร้านนี่แหละ คือสัญลักษณ์ของเรา จึงตกลงกันว่าจะใช้ภาพของคุณแม่เป็นตราสินค้าตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา”
ขยายกิจการแบบอนุรักษ์นิยม
ในปี 2525 ครอบครัวกาญจนวิสิษฐผลตัดสินใจเปิดบริษัทจำหน่ายผลิตภันฑ์ บริษัทจิ้วฮวด จำกัด และบริษัทชลบุรี ตราแม่ครัว ฉลากทองจำกัด ภายใต้ชื่อผลิตภันฑ์
“ตราแม่ครัว” “ตราฉลากทอง” และ “ตราแม่ครัวฉลากทอง” โดยผลิตสินค้าอื่นๆ เพิ่มขึ้นได้แก่ซอสพริก ซอสปรุงรส แป้งทอดกรอบ และน้ำส้มสายชู รวมทั้งได้ขยายกิจการเปิดโรงงานทำน้ำปลาและซีอิ๊วขาว
เมื่อครอบครัวขยายใหญ่ขึ้นมีคนมากขึ้น จึงมีปัญหาให้บริหารจัดการอย่างไม่ขาดสาย ตั้งแต่ปัญหาเล็กน้อยกระทั่งปัญหาใหญ่แต่สิ่งที่ ทำให้ผ่านปัญหาต่างๆมาได้ด้วยการยึดแนวทางการทำงานของผู้บริหารรุ่นคุณพ่อ
“ผมไม่เคยลืมว่าตัวเองมาจากไหน บอกกับลูกหลานว่าเราเป็นบ้านนอกเข้ากรุง คุณพ่อสอนเสมอว่าลูกหลานทุกคนจะต้องมีความอดทน และต้องไม่ลืมบุญคุณผู้ที่ให้ความช่วยเหลือทำงานทุกอย่างให้สุดความสามารถ พึ่งพาตัวเอง และพัฒนาบริษัทให้สืบทอดต่อไป” ผู้บริหารรุ่น ที่สองของกลุ่มบริษัทตราแม่ครัวบอกด้วยน้ำเสียงหนักแน่น
สิ่งที่เป็นเอกลักษณ์อีกประการซึ่งลูกค้าสัมผัสได้จากครอบครัวกาญจนวิสิษฐผลก็คือ ความเรียบง่ายและเอกลักษณ์ของการซื้อขายที่ แม้ว่าจะกระจายสินค้าไปต่างประเทศก็ยังไม่แต่งตั้งผู้แทนจำหน่าย แต่กลับซื้อขายแบบเจ้าต่อเจ้าแทน
“การจัดจำหน่ายในประเทศเรามีคนส่งของในแต่ละภูมิภาค จัดส่งเองไม่เว้น 3 จังหวัดชายแดนภาตใต้ ส่วนตลาดต่างประเทศนั้นเรามีลูกค้า อยู่แบบกระจัดกระจายทั่วยุโรป สหรัฐอเมริกา ประเทศแถบตะวันออกกลาง และเอเชียทั้งหมดถ้าเป็นบริษัทใหญ่ๆ เขาจะมีตัวแทนจำหน่ายเพื่อ กระจายสินค้าแต่เราเป็นพวกอนุรักษ์นิยม ไม่มีตัวแทนจำหน่ายจะขายแบบตัวต่อตัว โดยเก็บเงินเป็นเงินบาทที่หน้าท่าก่อนที่จะส่งไปต่างประเทศ”
“เป็นวิถีที่ทำมาตั้งแต่รุ่นคุณพ่อ ผมทำต่อมาและยังไม่มีแนวโน้นว่าจะเปลี่ยนไป เพราะเราไม่มีโครงการที่จะเข้าตลาดหลักทรัพย์ จึงบริหาร งานแบบที่เราทำแล้วสบายใจ เพราะการตั้งตัวแทนจำหน่ายเจ้าเดียวในภูมิภาคเป็นเรื่องใหญ่และกลัวเสียระบบ ต้องควบคุมเรื่องตัวเลขและจะต้อง มีคนของเราไปดูแลโดยตรง” ประธานกรรมการผลิตภัณฑ์ตราแม่ครัวฉายภาพการทำงาน
เส้นทางแห่งมิตรภาพ สู่ความสำเร็จ ยั่งยืน มั่นคง
ด้วยอุดมการณ์ทางธุรกิจที่ยึดมั่นในคุณภาพคุณธรรมที่มีต่อเพื่อนร่วมเส้นทาง และผู้บริโภคก่อเกิดมิตรภาพที่ยิ่งใหญ่อันเปี่ยมด้วย ความซื่อสัตย์จริงใจ ที่มีแก่กันและกันบริษัท จิ้วฮวด จำกัด และ บริษัท ตราแม่ครัว จำกัด ได้เดินทางมาอย่างต่อเนื่องยาวนานนับตั้งแต่ปี 2525 ที่บริษัทก่อตั้งขึ้นเพื่อดำเนินกิจการในด้านการเป็น ผู้จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์จนได้รับรางวัลโรงงานดีเด่น ประจำปี 2541 เป็นเครื่องยืนยันถึง การเจริญเติบโตด้วยคุณภาพที่ดีตลอดมา
เชื่อว่า “ภาพหญิงวัยกลางคนใส่เสื้อสีแดง คลุมทับด้วยผ้ากันเปื้อนสีขาวยืนปรุงอาหาร” เป็นที่คุ้นตาของแม่บ้านไทย มาไม่น้อยกว่า 30 ปีแล้ว เพราะนี่ คือโลโก้สินค้า ที่สร้างการจดจำของ ซอสหอยนางรมตราแม่ครัว และเครื่องปรุงรสต่างๆในกลุ่มตราแม่ครัวฉลากทอง
แต่หากจะให้ย้อนถึงต้นกำเนิดของรสชาติที่สร้างความกลมกล่อม ให้หลากเมนูคู่ครัวไทยจะมีใครเล่าได้ดีเท่า “คุณเศรษฐี กาญจนวิสิษฐผล” ประธานกรรมการบริษัท ตราแม่ครัว จำกัด เจ้าของสินค้าตราแม่ครัว และแม่ครัวฉลากทองผู้บริหารรุ่นที่สอง ที่รับหน้าที่สืบทอดงานจากรุ่นคุณพ่อคุณแม่ (คุณพ่อสถิตย์ – คุณแม่ง้วย กาญจนวิสิษฐผล) ที่ให้เกียรติมา เล่าความเป็นมาตลอดจนแนวคิดการดำเนินธุรกิจที่ส่งต่อมาจากรุ่นสู่รุ่น อย่างไม่มีปิดบัง
ค้าขายชายเล ต้นกำเนิดตราแม่ครัว
คุณเศรษฐีเล่าถึงครอบครัวด้วยท่าทีเป็นกันเองว่า “ผมเติบโตที่จังหวัดชลบุรีบ้านที่มีลูก 8 คน ทุกคนต้องช่วยกันทำงาน แม่เปิดร้านขาย อาหารทะเลแห้งและมีหอยนางรมสด ซึ่งเป็นงานที่ทำมาตั้งแต่รุ่นคุณปู่ ผมกับพี่น้องผู้ชายมีหน้าที่ออกเรือเพื่อที่จะไปทุบหอยนางรมมาให้กลุ่ม ผู้หญิงแกะขายสดๆ หน้าร้าน ซึ่งบางครั้งเราก็ขายของที่ได้มาไม่หมด จึงต้องคิดค้นวิธีถนอมอาหารซึ่งส่วนใหญ่จะเอาไปดอง แต่เมื่อของมันเยอะ คุณพ่อก็คิดว่าจะดัดแปลงหอยนางรมให้กลายเป็นเครื่องปรุงเหมือนกับซีอิ๊ว จึงลองนำไปกวน จากนั้นก็พัฒนาสูตรและกรรมวิธีมาเรื่อยๆ จน กลายเป็นซอสหอยนางรมและใช้ชื่อตราแม่ครัวจนมาถึงปัจจุบัน ซึ่งถือว่าเป็นเจ้าแรกของประเทศไทย”
จากที่เคยคิดแค่เพียงต้องการถนอมอาหาร กลับกลายเป็นเกิดสินค้าใหม่ พื้นที่แกะหอยนางรมสดในบ้านถูกแบ่งไว้สำหรับขายซอสเพิ่ม เติม มีโรงงานขนาดย่อมอยู่หลังหนึ่งชื่อ “จิ้วฮวด” ซึ่งหมายถึง เจริญทันทีทันใด
“เนื่องจากซอสหอยนางรมเป็นสินค้าใหม่ ช่วงแรกๆ จึงขายดีมาก กลายเป็นของที่ต้องมีติดบ้านเช่นเดียวกันน้ำปลา เราเริ่มต้นจากขาย ให้ร้านอาหารละแวกบ้านก่อน เพราะแถบชลบุรีมีร้านอาหารใหญ่ๆ อยู่มากจึงทำให้คนรู้จักเราอย่างรวดเร็ว ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่ก็เป็นลูกค้าเดิม ของคุณแม่ และโชคดีชั้นที่สองก็คือ หม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ ท่านซื้อไปทดลองรับประทาน และนำไปเขียนลงในหนังสือ ฟ้าเมืองไทย ในขณะนั้น พร้อมให้เครื่องหมายเซลล์ชวนชิม ซอสของเราจึงเป็นที่รู้จักแพร่หลายในวงกว้าง”
เมื่อถามถึงที่มาของเครื่องหมายการค้าที่แสนจะคุ้นเคย ก็ได้คำตอบว่า “เราตั้งโรงงานในปี 2519 เป็นแหล่งผลิต แล้วขายผ่านตัวแทน จำหน่ายดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีโลโก้ยี่ห้อของตัวเอง เราพยายามหาสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์เพื่อให้คนจำได้ สรุปว่าคุณแม่ที่ขายของอยู่หน้าร้านนี่แหละ คือสัญลักษณ์ของเรา จึงตกลงกันว่าจะใช้ภาพของคุณแม่เป็นตราสินค้าตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา”
ขยายกิจการแบบอนุรักษ์นิยม
ในปี 2525 ครอบครัวกาญจนวิสิษฐผลตัดสินใจเปิดบริษัทจำหน่ายผลิตภันฑ์ บริษัทจิ้วฮวด จำกัด และบริษัทชลบุรี ตราแม่ครัว ฉลากทองจำกัด ภายใต้ชื่อผลิตภันฑ์
“ตราแม่ครัว” “ตราฉลากทอง” และ “ตราแม่ครัวฉลากทอง” โดยผลิตสินค้าอื่นๆ เพิ่มขึ้นได้แก่ซอสพริก ซอสปรุงรส แป้งทอดกรอบ และน้ำส้มสายชู รวมทั้งได้ขยายกิจการเปิดโรงงานทำน้ำปลาและซีอิ๊วขาว
เมื่อครอบครัวขยายใหญ่ขึ้นมีคนมากขึ้น จึงมีปัญหาให้บริหารจัดการอย่างไม่ขาดสาย ตั้งแต่ปัญหาเล็กน้อยกระทั่งปัญหาใหญ่แต่สิ่งที่ ทำให้ผ่านปัญหาต่างๆมาได้ด้วยการยึดแนวทางการทำงานของผู้บริหารรุ่นคุณพ่อ
“ผมไม่เคยลืมว่าตัวเองมาจากไหน บอกกับลูกหลานว่าเราเป็นบ้านนอกเข้ากรุง คุณพ่อสอนเสมอว่าลูกหลานทุกคนจะต้องมีความอดทน และต้องไม่ลืมบุญคุณผู้ที่ให้ความช่วยเหลือทำงานทุกอย่างให้สุดความสามารถ พึ่งพาตัวเอง และพัฒนาบริษัทให้สืบทอดต่อไป” ผู้บริหารรุ่น ที่สองของกลุ่มบริษัทตราแม่ครัวบอกด้วยน้ำเสียงหนักแน่น
สิ่งที่เป็นเอกลักษณ์อีกประการซึ่งลูกค้าสัมผัสได้จากครอบครัวกาญจนวิสิษฐผลก็คือ ความเรียบง่ายและเอกลักษณ์ของการซื้อขายที่ แม้ว่าจะกระจายสินค้าไปต่างประเทศก็ยังไม่แต่งตั้งผู้แทนจำหน่าย แต่กลับซื้อขายแบบเจ้าต่อเจ้าแทน
“การจัดจำหน่ายในประเทศเรามีคนส่งของในแต่ละภูมิภาค จัดส่งเองไม่เว้น 3 จังหวัดชายแดนภาตใต้ ส่วนตลาดต่างประเทศนั้นเรามีลูกค้า อยู่แบบกระจัดกระจาย ทั่วยุโรป สหรัฐอเมริกา ประเทศแถบตะวันออกกลาง และเอเชียทั้งหมดถ้าเป็นบริษัทใหญ่ๆ เขาจะมีตัวแทนจำหน่ายเพื่อ กระจายสินค้าแต่เราเป็นพวกอนุรักษ์นิยม ไม่มีตัวแทนจำหน่ายจะขายแบบตัวต่อตัว โดยเก็บเงินเป็นเงินบาทที่หน้าท่าก่อนที่จะส่งไปต่างประเทศ”
“เป็นวิถีที่ทำมาตั้งแต่รุ่นคุณพ่อ ผมทำต่อมาและยังไม่มีแนวโน้นว่าจะเปลี่ยนไป เพราะเราไม่มีโครงการที่จะเข้าตลาดหลักทรัพย์ จึงบริหาร งานแบบที่เราทำแล้วสบายใจ เพราะการตั้งตัวแทนจำหน่ายเจ้าเดียวในภูมิภาคเป็นเรื่องใหญ่และกลัวเสียระบบ ต้องควบคุมเรื่องตัวเลขและจะต้อง มีคนของเราไปดูแลโดยตรง” ประธานกรรมการผลิตภัณฑ์ตราแม่ครัวฉายภาพการทำงาน